หมวด : ข่าว

ป่างาม น้ำใส ร่วมใจรักษ์”ครั้งที่ 9 มอบ 5 รางวัลสนับสนุนชุมชนฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า

        ณ  บริเวณงานนิทรรศการหน้าหอประชุมมหิศร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่รัชโยธิน  เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556 มูลนิธิกองทุนไทยร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดงาน “ป่างามน้ำใส ร่วมใจรักษ์” ครั้งที่ 9 ประจำปี 2556 เพื่อแสดงผลงานจากชุมชนในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า พร้อมมอบเกียรติบัตรแก่ชุมชนหรือองค์กรที่ดำเนินงานด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีจำนวน 5 โครงการ ภายในงานมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานโครงการร้านค้าจากชุมชนและกิจกรรมการกุศลเพื่อสมทบทุนกองทุนดูแลสิ่งแวดล้อม มูลนิธิกองทุนไทย

        ทั้งนี้คุณพิสมัย ขนบดีประธานกรรมการมูลนิธิกองทุนไทยและคุณธาตรี ลิขนะพิชิตกุลผู้จัดการกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)ร่วมกล่าวเปิดงาน  จากนั้นจึงมอบรางวัลสนับสนุนชุมชนฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าซึ่งโครงการที่ได้รับรางวัลมีรายชื่อดังนี้ โครงการการบริหารจัดการป่าและระบบน้ำเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน จ.แม่ฮ่องสอน  โครงการหนึ่งหัวนาหนึ่งป่าน้อย จ.ชัยภูมิ โครงการเก่อญอโพพิทักษ์สายน้ำ จ.เชียงราย  โครงการพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชนเขาราวเทียนและฟื้นฟูวิถีชิวิตอย่างยั่งยืน  จ.ชัยนาท  โครงการป่าครอบครัว สร้างโลกเย็น จ.พิษณุโลก

        คุณวรรณา ศรีพูดและคุณสงวน ฉิมแว่น จากโครงการป่าครอบครัว สร้างโลกเย็น กล่าวถึงจุดเริ่มต้นและวัตถุประสงค์โครงการว่า โครงการนี้เริ่มตั้งปี2542 โดยส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านที่หายากและต้นไม้ที่ทนต่อพื้นที่น้ำท่วมง่ายมาปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ

        คุณสายัณห์ เล็กพรหมตัวแทนจากโครงการหนึ่งหัวหาหนึ่งป่าน้อย อธิบายถึงแนวคิดโครงการนี้ว่า  “ทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบันเสื่อมโทรมลงมาก จึงควรฟื้นฟูให้มันดีขึ้น จึงมีแนวคิดว่าควรเกิดโครงการนี้” คุณสายัณห์กล่าวต่อว่า “โครงการนี้สนับสนุนให้มีการเพาะเมล็ดพืชไม้หายากประจำถิ่นเพื่อทำการเกษตรโดยนำมาปลูกที่หัวนาแต่ละบ้านเพื่อเป็นการพึ่งตนเองโดยไม่ต้องไปเอาเมล็ดพืชจากป่า ลดการเบียดเบียนป่า” “ส่วนอนาคตของโครงการนี้จะมี1 เรือนเพาะชำ 1 หมู่บ้าน เป็นการส่งเสริมการเพาะพันธุ์กล้าไม้หายากมาแจกจ่ายให้ชาวบ้านปลูก” คุณสายัณห์กล่าวปิดท้าย

        ทางกลุ่มเยาวชนเก่อญอโพพิทักษ์สายน้ำโดยคุณชวลิต ทุรวารเป็นตัวแทนกลุ่ม กล่าวถึงโครงการเก่อญอโพพิทักษ์สายยน้ำว่า โครงการนี้เกิดจากความต้องการคืนชีวิตสู่ธรรมชาติ โดยเจาะลงที่เรื่องทรัพยากรน้ำเป็นหลัก เนื่องจากสภาวะป่าเสื่อมโทรมส่งผลให้ลำน้ำหดหาย จึงมีการปลูกต้นไม้จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ต้นไม้ที่ปลูกเช่น กล้วยป่า เป็นต้น ทั้งนี้ต้นไม้ที่ปลูกต้องเป็นพันธุ์ไม้เดิมในท้องถิ่นนั้นเพราะสามารถทนต้องสภาพแวดล้อมได้

        ส่วนคุณเรืองศักดิ์ ชมพูพวงตัวแทนจากโครงการบริหารจัดการป่าและระบบน้ำเพื่อชีวิตที่ยั่งยืน เผยว่าโครงการนี้เกิดจากปัญหาชาวบ้านขาดน้ำอุปโภคเพราะป่าไม้อันเป็นต้นน้ำลดลง ชาวบ้านจึงสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมในการปลูกป่า และใช้พิธีกรรมทางศาสนาคือ การบวชป่า การสืบชาตาน้ำเป็นกุศโลบายอนุรักษ์ป่าไม้และสายน้ำ และท้ายสุดขยายความร่วมมือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสู่ระดับอำเภอ ปลุกจิตสำนึกเยาวชนมาช่วยงานด้านอนุรักษ์

        คุณสายชล พวงพิกุล จากโครงการพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชนเขาราวเทียนทองและฟื้นฟูวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนกล่าวว่า “โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ดูแลป่าชุมชน  โดยเริ่มจากป่าข้างบ้าน วัด และโรงเรียนไปสู่ป่าสาธารณะ จากนั้นสร้างเครือข่ายหมู่บ้านจาก อ.เรียงขามและ อ.หันคา จ.ชัยนาทซึ่งทั้งสองอำเภอเป็นพื้นที่รอยต่อป่าสงวนเพื่อดูแลป่าไม้โดยมีการจัดกำลังเฝ้าระวังการตัดไม้ทำลายป่า” คุณสายชลกล่าวต่อว่า “เยาวชนควรมีส่วนร่วมในการรักษาธรรมชาติ จึงควรปลูกจิตสำนึกให้พวกเขา โดยโครงการพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่ายชุมชุนเขาราวเทียนทองและฟื้นฟูมีการฝึกสอนให้เยาวชนเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงสภาวะธรรมชาติและความรู้เรื่องพันธุ์ไม้ท้องถิ่น


14/Jan/2014